วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554



-                     การบูรณาการแบบสอดแทรก   เป็นลักษณะการสอนปกติทั่วไปที่บางช่วงได้นำเนื้อหาสาระอื่นมาสอดแทรกโดยการเตรียมการสอน ผู้สอนมิได้ดำเนินการละเอียดถึงขั้นวิเคราะห์หลักสูตร แต่พิจารณาว่าเรื่องใดพอใจที่จะแทรกเชื่อมโยงกันได้และนักเรียนจะได้รับประโยชน์มากขึ้น
                การสอดแทรกเรื่องจริยธรรมในการเลี้ยงสัตว์
1.เพื่อศึกษาความเข้าใจและการตระหนักถึงคุณค่าของจริยธรรมต่อการดําเนินชีวิต
2. เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียน
3. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในการเลี้ยงสัตว์
                คุณธรรม   ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง สภาพของคุณงามความดี
                จริยธรรม มายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ  จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ 
                คุณธรรมจริยธรรม จึงหมายถึง สภาพคุณงามความดีที่ประพฤติปฏิบัติหรือหน้าที่ที่ควรปฏิบัติในการครองชีวิตหรือคุณธรรมตามกรอบจริยธรรม
                เจตคติต่อการเลี้ยงสัตว์  เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะ สัตว์ต้องการการเลี้ยงดูเอาใจใส่ ความสำคัญส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงสัตว์ และเจตคติของผู้เลี้ยงสัตว์ย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ด้วย ดังนั้นคุณภาพของผู้เลี้ยงสัตว์จึงสำคัญต่อคุณภาพสัตว์

                การสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ อาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฏีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฏีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
เศรษฐกิจพอเพียง   มี 2 รูปแบบ คือ
-   เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่โลภมาก และไม่เบียดเบียนคนอื่น
-   เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยนร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้ส่วนร่วมได้รับประโยชน์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืน



หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสำเร็จต้องประกอบด้วย  3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
         3 ห่วง ได้แก่
ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ดังนั้นการเลี้ยงหมูอย่างพอประมาณสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
1.การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณโดยการเลี้ยงตามกำลังความสามารถของเราด้วย เพื่อที่จะดูแลสัตว์เลี้ยงของเราได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
2. เลี้ยงโดยที่ไม่เดือดร้อนผู้อื่น โดยการออกแบบและการจัดการกระบวนการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์และโรงเรือนให้ปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นทั้งด้าน กลิ่น เสียง
 ห่วงที่ 2 มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
1. การเลี้ยงหมูต้องมีเหตุผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เช่น การเลี้ยงเพื่อบริโภค การเลี้ยงเพื่อธุรกิจซึ่งการเลี้ยงแต่ละประเภทย่อมมีวิธีการดำเนินการแตกต่างกัน
2. การเลี้ยงต้องมีเหตุผลสอดคล้องกับหลักวิชาการทุกด้าน เช่น สายพันธุ์สัตว์เลี้ยง อาหาร
โรงเรือน การตลาด โรคที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ การดูแลรักษา
ห่วงที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง องค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องและกระบวนการในการ
เลี้ยงสัตว์
2.ต้องมีคุณธรรมในการเลี้ยงสัตว์ให้มีความเจริญเติบโตตามหลักธรรมชาติของแต่ละสาย
พันธุ์โดย สุจริตใจใส่ใจ มีความอดทนและสม่ำเสมอ
            2 เงื่อนไข ได้แก่
 1. เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
-   รอบรู้
1. รอบรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูสัตว์
2. รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องสารเคมีที่เราอาจจะพบเจอ
3. รอบรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในสังคม
รอบคอบ
1. รอบคอบในการเลือกสายพันธุ์สัตว์
2. รอบคอบในการเลี้ยงดู ดูแลเอาใจใส่สัตว์เป็นอย่างดี
- ระมัดระวัง
1. ระมัดระวังโรคระบาดของสัตว์เราอาจติดได้
2. ระมัดระวังเชื้อโรคที่เกิดมาจากสัตว์เราอาจได้รับเชื้อโรคจากสัตว์นั้นด้วย
3. ระมัดระวังในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง
 2. เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้รักสามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น
- ซื่อสัตย์สุจริต
1. ซื่อสัตย์ต่อสัตว์ที่เราเลี้ยง เช่น การให้อาหารควรให้อาหารตามที่เรากำหนดไว้
2. ซื่อสัตย์โดยการดูแลเอาใจใส่สัตว์เป็นอย่างดี
             -  ขยันอดทน
1. ขยันในการทำความสะอาดสถานที่ที่เราเลี้ยงสัตว์
2. ขยันในการดูและเอาใจใส่สัตว์
3. ขยันในการทำงานทำงานอย่างมีความสุข
              - สติปัญญา
1. การประยุกต์ทฤษฎีความรู้มาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเหมาะสม
 2. การประยุกต์กระบวนการเลี้ยงสัตว์ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต
              - แบ่งปัน
1.  ถ่ายทอดเจตนาหรือความรู้สึกที่ดีไปสู่สัตว์เลี้ยง
2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์กับบุคคลอื่น
  
 การนำไปสู่

ชีวิต            >       เศรษฐกิจ         >         สังคม         >           สิ่งแวดล้อม

ก้าวหน้าอย่างสมดุล            >                มั่นคง           >               ยั่งยืน


             การเลี้ยงสัตว์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินการตามทางสายกลาง โดยใช้หลัก ความพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีโดยอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมควบคู่กันไปเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเศรษฐกิจที่ดี อย่างไรก็ตามคำว่าเศรษฐกิจที่ดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงทรัพย์สิน เงินทองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเศรษฐกิจด้านจิตใจที่ดีทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างพอเพียง  และเมื่อเศรษฐกิจดีแล้วก็จะทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วยซึ่งจะนำไปสู่  ความก้าวหน้าอย่างสมดุลเพื่อวางรากฐานความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงสัตว์และจะทำให้อาชีพการเลี้ยงสัตว์ของเรายั่งยืนตลอดไป